วันพุธที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

ประวัติ hi5 จร้าาา


บทความ เนื้อเรื่อง หรือ คำอธิบาย โดยละเอียด
ที่มาของชื่อ

ชื่อ “Hi5” มาจากไหน ?

คำว่า Hi5 หรือ “Hi Five” หมายถึงอาการที่คนสองคนชูฝ่ามือแบนิ้วทั้ง 5 มาแปะกันแรงๆ เป็นการทักทายประสาเพื่อนสนิทที่ชาวอเมริกันนิยมกันมาก เช่นเดียวกับคำชวนให้มาแปะมือกันก็พูดว่า “Give me five!” เป็นต้น

สำนวนนี้เป็นที่มาของชื่อเว็บ Hi5 และในเว็บนี้ก็เปิดให้เรา “Give 5” ให้กับเพื่อนสนิทหรือคนที่พิเศษได้โดยการกดปุ่มลิงค์ “Give ...ชื่อเจ้าของรูป... Five” และหากเจ้าของรูปคนนั้นไม่เคยได้รับ “Five” มาก่อน เราก็จะได้รับเกียรติให้เป็นคนแรกที่ให้ Five แก่เจ้าของรูปนั้นให้รู้กันไปทั้งกลุ่มด้วย

ประวัติ
ลามู ยาละมันชัย นักศึกษาปริญญาตรีชาวอเมริกัน ได้ร่วมกับเพื่อนๆ ในมหาวิทยาลัยอิลลินอยส์ที่เรียนปริญญาตรีทางด้าน Computer Science อยู่ ก่อตั้ง SponsorNet New Media ธุรกิจตัวแทนโฆษณาบนอินเทอร์เน็ต ในปี 2004 โดยยาละมันชัย ได้เห็นว่าระบบการโฆษณาผ่านแบนเนอร์แบบเก่าๆ ที่อาจไม่ตรงกลุ่มเป้าหมาย และพฤติกรรมการสร้างอัลบั้มรูปแล้วพูดคุยกัน การเกิดกลุ่มเพื่อนที่คอยอัพเดตข่าวแต่ละคนทางอินเทอร์เน็ต จึงได้เกิดเป็นเว็บไซต์ไฮไฟฟ์


ไฮไฟฟ์ มีภาษาต่างๆ ถึง 9 ภาษา เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับความนิยมสูงสุดเป็นอันดับ 1 ของประเทศไทย ตามมาด้วย กูเกิล และวินโดวส์ไลฟ์ (ข้อมูลเดือน กุมภาพันธ์ 2550) และติดอันดับ 1 ใน 10 ในอีกกว่า 30 ประเทศ ไฮไฟฟ์กลุ่มของผู้ที่ใช้ภาษาสเปน เป็นหลักโดยเฉพาะในทวีปอเมริกาใต้ กลุ่มประเทศที่นิยมการใช้ไฮไฟฟ์ คือ สาธารณรัฐโดมินิกัน คอสตาริกา เอลซัลวาดอร์ เอกวาดอร์ ฮอนดูรัส รองลงมาคือ กัวเตมาลา เปรู ขณะเดียวกันรวมถึงประเทศอื่นที่ไม่ใช่ภาษาอังกฤษ เช่น โปรตุเกส โรมาเนีย และประเทศไทยที่ปัจจุบันมีตัวเลขผู้เล่นไฮไฟฟ์ประมาณ 1 ล้านราย และมีผู้ลงทะเบียนใหม่เพิ่มมากกว่าวันละ 8 พันราย โดยผู้ที่ใช้ไฮไฟฟ์จากประเทศไทยอยู่ที่อันดับ 12
ไฮไฟฟ์ เป็นเว็บไซต์ประเภท Social Network หรืออาจเรียกในภาษาไทยว่า “เครือข่ายสังคม” หรือ “เครือข่ายมิตรภาพ” หรือ “กลุ่มสังคมออนไลน์” คือบริการผ่านเว็บไซต์ที่เป็นจุดโยงระหว่างบุคคลแต่ละคนที่มีเครือข่ายสังคมของตัวเองผ่านเน็ตเวิร์คอินเทอร์เน็ต รวมทั้งเชื่อมโยงบริการต่างๆ อย่าง เมล์ เมสเซ็นเจอร์ เว็บบอร์ด บล็อก ฯลฯ เข้าด้วยกัน นอกจากนี้ยังมีก็กลุ่มย่อยตามความสนใจร่วมกัน เช่น กลุ่มคนขี่จักรยานเสือภูเขา กลุ่มแฟนคลับเดธโน้ต เป็นต้น โดยคนที่ลงทะเบียนสมัครจะกรอกข้อมูลส่วนตัว รูปภาพ อัลบั้มรูป โดยเชื่อมเครือข่ายสังคมและเครือข่ายมิตรภาพเข้าด้วยกัน ด้วยการแชร์รูป แชร์ไฟล์ดูกัน[3]

นอกจากนี้ยังมีฟังก์ชันเสริมอื่นๆ เช่น การฝังวิดีโอคลิป ฝังจอเล่นเพลง ฝังจอพิเศษที่นำรูปทั้งหมดของเรามาเล่นเรียงแบบฉายสไลด์ ซึ่งอุปกรณ์เสริมเหล่านี้เรียกว่า วิดเจ็ต (Widget) และยังเป็นฐานเปิดกว้างให้บริการอื่นๆ ร่วมด้วยอย่าง เว็บรับฝากคลิปวิดีโอ ยูทูบ หรือ หรือเว็บรับฝากเพลง iMeem นอกจากนี้ยังมีจอพิเศษที่จะฉายอัลบั้มรูปเราแบบสไลด์ของ slide.com และมีเกมสั้นๆ ง่ายๆ สไตล์ Flash Game อีกชิ้นส่วนสำคัญคือหน้าจอ หรือที่เรียกว่า สกิน เป็นพื้นหลังแบ็กกราวนด์ ที่สามารถเลือกลวดลายและรูป ที่สามารถดาวน์โหลดได้ตามเว็บ และอีกลูกเล่นคือ กลิตเตอร์ (Glitter) การ์ตูนขยับหรือภาพ “ดุ๊กดิ๊ก” ที่ผู้ใช้สามารถคัดลอกโค้ดไปแปะในหน้าของตัวเองและส่งให้เพื่อนๆ กันอย่างแพร่หลาย

และหลังจากที่คู่แข่งอย่าง เฟซบุ้ก เปิดโอกาสให้โปรแกรมเมอร์หรือใครก็ได้สร้างวิดเจ็ตขึ้นไปแปะบนหน้าเฟซบุ้กตัวเอง และแจกจ่ายให้แพร่หลายออกไปได้ ซึ่งไฮไฟฟ์เคยควบคุมไว้โดยตลอด แต่ต่อมา ไฮไฟฟ์ร่วมมือกับมายสเปซ ให้กูเกิ้ล ช่วยพัฒนาระบบชื่อ “Open Social” ซึ่งจะเป็นการเปิดกว้างให้มีวิดเจ็ตเช่นเดียวกับเฟซบุ้ก


จากการสำรวจข้อมูลของคนไทยที่ใช้ไฮไฟฟ์ ในช่วงเดือน ธันวาคม พ.ศ. 2550 พบว่า ที่มีการเล่นมากที่สุดอยู่ที่ช่วงอายุ 18-24 ปี เป็นสัดส่วนถึง 42.19% โดยสัดส่วนของผู้หญิงและผู้ชายก็จะอยู่ในระดับใกล้เคียงกัน โดยที่สัดส่วนของผู้เล่นเพศหญิงจะมากกว่าเล็กน้อย

Data from th.wikipedia.org


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น